2424
จุดเริ่มต้น

     โรงเรียนวัดสุทธิวรารามตั้งอยู่ในบริเวณส่วนหนึ่งของวัดลาว จากจารึกในแผ่นศิลาที่ติดไว้หน้าโบสถ์หลังเก่าวัดสุทธิวราราม ระบุว่าวัดนี้เดิมชื่อ วัดลาว เป็นวัดร้าง เมื่อปี ร.ศ. 100 ปีมะเส็ง จุลศักราช 1243 ตรงกับ พุทธศักราช 2424 ท่านผู้หญิงสุทธิ์ ภรรยาเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) ผู้สําเร็จราชการเมืองสงขลา ลําดับที่ 6 ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 สร้างขึ้นใหม่และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดสุทธิวราราม” ตามนามของท่านผู้หญิงสุทธิ์ ครั้งล่วงมาได้ 18 ปี วัดนี้ทรุดโทรมลง ท่านปั้น ภรรยาหลวงอุปการโกษากร (เวทวัชราภัย) ซึ่งเป็น บุตรีเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) และท่านผู้หญิงสุทธิ์ มีกตัญญูระลึกถึงคุณบิดามารดา และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ปฏิสังขรณ์ก่อสร้างขึ้นบริบูรณ์ ในปี ร.ศ. 118 จุลศักราช 1262 ตรงกับพุทธศักราช 2442 เมื่อท่านปั้น  อุปการโกษากร ถึงแก่กรรม ในปี 2454 บุตรธิดาของท่านนั้น เช่นคุณหญิงสมบุญ วิเชียรคีรี ภรรยาท่านวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) ผู้สําเร็จราชการเมืองสงขลา ประสงค์จะสร้างอนุสรณ์สถาน เพื่ออุทิศเป็นทักษิณานุปทานแด่มารดา จึงได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ขึ้นในที่ดินของท่านและบริเวณที่ธรณีสงฆ์ ซึ่งบริษัทวินเซอร์โรซเช่าอยู่  ทั้งนี้เพื่อให้เป็นสถานที่อบรมและให้ การศึกษาแก่เยาวชนของชาติ

2460
ตึกหลังใหม่

      ปี พ.ศ.2460 ทางบริษัทวิเซอร์โรซ (ห้างสี่ตา) ได้หมดสัญญาเช่าที่ดิน (ด้านหน้า) ท่านขุนสิทธิ์ดรุณเวชย์ อาจารย์ผู้ปกครองได้ขอสถานที่จากทางวัดสุทธิวรารามเพื่อสร้างเป็นโรงเรียนชั้นประถม  เมื่อท่านเจ้าอาวาสวัดสุทธิวรารามได้กรุณาให้เป็นไปตามความประสงค์จึงได้รื้อโรงเรียนประถมวัดยานนาวา มาปลูกสร้างต่อจากโรงเรียนเดิมไปทางทิศตะวันตก  เมื่อสร้างเสร็จแล้วกระทรวงธรรมการเห็นสมควรจะเปิดเป็นโรงเรียนสตรีอีกแผนกหนึ่งจึงได้เปิดโรงเรียนสตรีวัดสุทธิวรารามขึ้น ต่อมาเมื่อวันที่  10  มกราคม  พ.ศ. 2470  เวลา  04.00  น. ได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่ตลาดบ้านทวายแล้วลุกลามมาถึงโรงเรียนประถมและห้องสมุด  ครูและนักเรียนช่วยกันดับเพลิงเต็มความสามารถจึงมิได้ลุกลามต่อไปยังตึกเรียนอื่น  ต่อมากระทรวงธรรมการจึงได้สร้างตึกหลังใหม่ให้ติดต่อกับตึกหลังเดิมโดยยื่นไปทางทิศใต้เป็นลักษณะเดียวกับอักษรตัวแอลในภาษาอังกฤษ

2475
กำเนิดโรงเรียนสตรีบ้านทวาย

     ปี  พ.ศ.  2474  กระทรวงธรรมการได้สร้างโรงเรียนสตรีวัดสุทธิวรารามขึ้นใหม่ที่ตรอกยายกะตา (ซอยดอนกุศล ในปัจจุบัน) และให้ชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนสตรีบ้านทวาย" ปัจจุบันคือ "โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย" โดย อพยพนักเรียนสตรีจากโรงเรียนวัดสุทธิวรารามไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

2484
สงครามมหาเอเชียบูรพา

ต้นปีการศึกษา 2485 สงครามทวีความรุนแรงมากขึ้น  การทิ้งระเบิดทําลายสถานที่สําคัญ ๆ  ของฝ่ายพันธมิตรก็ยิ่งทวีมากขึ้นบริษัทบอร์เนียวซึ่งตั้งอยู่หลังโรงเรียนวัดสุทธิวรารามเป็นที่ชุมนุมของทหารญี่ปุ่นจํานวนมาก  บ่ายวันหนึ่งเครื่องบินสัมพันธมิตรได้ทําการโจมตีทิ้งระเบิดบริษัทบอร์เนียว รัศมีระเบิดที่เกิดขึ้นมีพื้นที่ไปถึงอู่ต่อเรือกรุงเทพ  ทําให้อาคารโรงเรียนด้านตะวันตกตรง กับพื้นที่ของห้องเก็บเครื่องมือวิทยาศาสตร์ถูกทําลายไปด้วย  พังไปพร้อมกับบริษัทบอร์เนียวและโรงเรียนเมื่อโรงเรียน เกิดความเสียหาย จากเหตุการณ์เพลิงไหม้ นักฉวยโอกาสพากันลักขโมยของมีค่าของโรงเรียนที่มีอยู่  หินอ่อนแผ่นสูงระดับเหนือศีรษะซึ่งจารึกพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อันตรธานไปอย่างเป็นที่น่า เสียดายยิ่งนัก  ระยะนี้นักเรียนต้องไปอาศัยศาลาเชื้อ  ณ  สงขลา (สีเหลือง) ซึ่งเป็นศาลาการเปรียญ ของวัดสุทธิวรารามเป็นที่เรียนชั่วคราว  ต่อมากระทรวงศึกษาธิการจึงได้สร้างเรือนไม้ชั้นเดียวหลังคามุงจาก (ปัจจุบันคือที่ตั้งของอาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9)  เป็นที่เรียนชั่วคราว

2490-2498
อาคารหลังใหม่

     พ .ศ. 2490 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสร้างอาคารเรียน 2 ชั้น ปัจจุบันได้รื้อถอนออกแล้ว ซึ่งออกแบบโดยหลวงสวัสดิ์สารศาสตร์พุทธิ  ทําพิธีเปิดโดย  ฯพณฯ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ม.ร.ว. เสนีย์  ปราโมช  เมื่อวันที่  2 เมษายน  พ.ศ.  2491

ต่อมาปลายเดือนกันยายน  พ.ศ. 2495  ได้รื้ออาคารเรียนชั่วคราวหลังคามุงจากฝาลําแพนออก เดือนตุลาคมในปีเดียวกันจึงสร้างอาคาร  3  ชั้น  คือ  อาคาร  2 (ได้รื้อถอนออกไปแล้ว)  กับหอประชุมอีกหลังแต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ  ต่อมาปี พ.ศ. 2496  จึงได้งบประมาณต่อเติมหอประชุม  ปี  พ.ศ.  2497  ได้รับงบประมาณต่อ เติมอาคาร  2  ซึ่งมี  3  ชั้นและอาคาร  3  ซึ่งมี  2  ชั้นและเป็นหอประชุมจึงได้แล้วเสร็จสมบูรณ์  หลวงสวัสดิสารศาสตร์ พุทธิ  (อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม)  จึงได้เชิญฯพณฯ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  นาย มังกร  พรหมโยธี  มาเปิดอาคารทั้ง  2  หลัง เมื่อวันที่ 20 มกราคม  พ.ศ. 2498

2498
ตัด "มัธยมพิเศษ"

พ.ศ.  2498 โรงเรียนได้ตัดคําว่า “มัธยมพิเศษ” ออกจากชื่อโรงเรียนเปลี่ยนเป็น “โรงเรียนวัดสุทธิวราราม” ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้

2503-2562
พัฒนาตามยุคสมัย

พ.ศ. 2503 - 2505  ได้ตัดชั้นมัธยมปีที่ 1, 2, 3  ออกปีละชั้นตามลําดับและในปี  พ.ศ.  2506  ได้เปลี่ยน เรียกชั้นมัธยมปีที่ 4 - 6 เป็น “ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2” และเรียชั้นเตรียมอุดมปีที่ 1 - 2เป็น “ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5”

พ.ศ. 2511 ทางกระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณสร้างกําแพงหน้าโรงเรียนใหม่ โดยทําการรื้อกําแพงเก่าทิ้งและสร้างอาคารห้องประชุมห้องอาหาร 1 ห้องเป็นอาคารชั้นเดียวไม่มีผนัง

ช่วงปลายปี พ.ศ. 2512 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน 3 ชั้นบริเวณด้านหน้าโรงเรียนคือ อาคารสุทธิ์รังสรรค์ ในปัจจุบัน

ปีงบประมาณ  2515  ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน  6  ชั้น (ปัจจุบัน คืออาคารปั้นรังสฤษฎี ) จํานวน (ล้านบาทเศษ)

ปีงบประมาณ  2519  ได้รับงบประมาณสร้างโรงยิม  อาคารอเนกประสงค์ (ปัจจุบันคืออาคารวิจิตรวรศาสน์) จํานวน  4  ล้านบาทเศษ

ปีงบประมาณ  2520  ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น (อาคารพัชรนาถบงกช) จํานวน 6 ล้านบาทเศษ

ปีงบประมาณ  2530  ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานแบบมาตรฐาน  306  ล./27  จํานวน1หลังเป็น เงิน  3,120,000  บาทลักษณะอาคารเป็นอาคาร  4  ชั้นซึ่งสร้างแทนอาคาร  3  หลังเก่าแล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.  2531  คือ  อาคารพัชรยศบุษกร

ปีการศึกษา  2532  พลเอกประเทียบเทศ วิศาลนายกสมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม  พร้อมด้วย อดีตอํานวยการโรงเรียนนายสุชาติ  สุประกอบ  คณะครู อาจารย์  นักเรียน  ผู้ปกครองได้จัดทอดผ้าป่าสร้าง อาคารธรรมสถานหลวงพ่อสุทธิมงคลชัย  ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 1,600,000  บาทเศษ

ปีงบประมาณ  2533  ได้รับงบประมาณ  3 ,775,000  บาท  เพื่อสร้างแฟลตนักการภารโรงจํานวน 20 หน่วย 1 หลัง

ปีการศึกษา  2534  โรงเรียนได้ต่อเติมห้องเรียนออกไปจํานวน 5 ห้องเรียนบริเวณชั้นล่างอาคารปั้น รังสฤษฎี  เพื่อรองรับนักเรียนระดับชั้น ม.1  และ ม.4  ซึ่งมีจํานวนเพิ่มมากขึ้น

อนึ่งในปี พ.ศ. 2534  เป็นปีครบรอบ  80ปี ของการสถาปนาโรงเรียนวัดสุทธิวราราม คณะศิษย์เก่า รุ่น  2500  ได้ร่วมกันจัดสร้างรูปปั้นท่านปั้น  อุปการโกษากร  ผู้ให้กําเนิดโรงเรียนเพื่อให้ทุกคนได้สักการะบูชา

ปีการศึกษา  2535  ได้รับอนุมัติงบประมาณของปี 2536  จํานวน 9,000,000  บาท  และปี 2537  ผูกพัน งบประมาณอีก  59,400,000  บาท  จากกรมสามัญศึกษาให้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 9 ชั้นบริเวณที่ตั้งของ อาคาร 2 เดิม) โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดําเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2536  เริ่มใช้เมื่อปีการศึกษา  2537  โดยได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตรากาญจนาภิเษกประจําอาคารเฉลิมพระเกียรติ

ปีการศึกษา 2550 พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี  พระวรราชาธินัดดามาตุ ทรงเป็นประธานในการเปิด “ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐”

ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนได้จัดสร้างห้องประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ชั้น 10 เพื่อใช้ เป็นสถานที่จัดประชุมผู้ปกครอง ครู นักเรียน และจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาศักยภาพนักเรียน อํานวยการสร้างโดยนายสุนันทวิทย์ พลอยขาว ผู้อํานวยการโรงเรียน ร่วมกับองค์กรสัมพันธ์

ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนมีการพัฒนาปรับปรุงห้องประชุม 727 เดิม ให้มีความทันสมัย โดยให้สามารถตอบสนองการประชุม การนําเสนอในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อํานวยการสร้าง โดยนายอารีย์ วีระเจริญ ผู้อํานวยการโรงเรียน ในการนี้ได้เปลี่ยนชื่อห้องประชุมเป็น “พัชรบุษย์ 108 ปี สุทธิวราราม” อันหมายถึง ดอกบัวและเพชร ตามสัญลักษณ์ประจําโรงเรียน

2562-ปัจจุบัน
ปัจจุบัน

ปัจจุบันโรงเรียนวัดสุทธิวรารามเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ  ดําเนินนโยบายแผนปฏิบัติการ ประจําปีสอดคล้องกับนโยบายของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการมีจํานวนเนื้อ ที่ 4 ไร่ 2 งาน 31 ตารางวา  มีอาคารเรียน ทั้งหมด 6 หลัง 72 ห้องเรียนในปีการศึกษา 2562 มีข้าราชการครู จํานวน 144 คนเป็นหญิง  93  คน ชาย  51  คน  ครูวุฒิการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี  37  คน และระดับปริญญาตรี 107 คน  ตําแหน่งครู วิทยฐานะครูชํานาญการพิเศษ 25 คน ครูอัตราจ้าง 18 คน เป็นหญิง 12 คนชาย 6 คน ลูกจ้างชั่วคราว 20 คน เป็นหญิง 7 คน ชาย 13 คน จํานวนนักเรียนในปีการศึกษา 2564 มีรวมทั้งสิ้น  2,901  คน

เสาติดตั้งสัญญาณเตือนภัยทางอากาศ (หวออากาศ)

เพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ และเตรียมหลบภัยจากการทิ้งระเบิด  เมื่อมีข้าศึกล่วงล้ําเข้ามาในเขตน่านฟ้าไทย ในสงครามมหาเอเชียบูรพา ในปีพุทธศักราช 2485 – 2486 หลังสงคราม ต่อมาทางการได้ปรับเปลี่ยนเป็น หอกระจายเสียงเพื่อแจ้งข่าวสารของทางการ ซึ่งขณะนี้ตั้งอยู่ ณ หน้าประตูโรงเรียน

“คทาครุฑพระราชทาน”

(เรียบเรียงจากคําบอกเล่าของ ครูแสวง บุตรน้ําเพชร ครูฝึกสอนและควบคุมวงดุริยางค์คนแรก)

ครูแสวงเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2510 นักเรียนในวงดุริยางค์คนหนึ่ง ชื่อ เด็กชายทัศนัย จริยวิทยากุล ได้พบ “ตัวครุฑ” ณ ร้านค้าบริเวณบางขุนพรม ด้วยความสนใจเป็นพิเศษ เด็กชายทัศนัย จึงได้ปรึกษากับเด็กชายชา แซ่ผู้ (ปัจจุบันคือ คุณจักรพันธุ์ มุสิกประณีต) ตกลงจะซื้อไว้เพื่อจัดสร้างเป็นคทาครุฑประจําวงดุริยางค์ ต่อมาได้นำตัวครุฑ ให้ครูแสวง พิจารณา ครูแสวงพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นของเก่า และได้ปรึกษากับครูจรูญ เทียมศักดิ์ ซึ่งดํารงตําแหน่งเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ ในขณะนั้นมีความเห็นตรงกันว่า ครุฑ เป็นของสูง หากจะนํามาใช้สมควรจะต้อง ได้รับ พระบรมราชานุญาตพระราชทานลงมา จึงปรึกษากันเพื่อดําเนินการส่งตัวครุฑ ไปที่สํานักพระราชวังเพื่อขอพระบรมราชานุญาตขอใช้ตัวครุฑประดับบนหัวคทาและอัญเชิญคทาครุฑใช้นำแถวกองเกียรติยศวงดุริยางค์ของโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ต่อไป โดยก่อนที่จะนําตัวครุฑส่งไปยังสํานักพระราชวังครูแสวงกับครูจรูญได้นําตัวครุฑ (เรียบเรียงจาก คําบอกเล่าของ ครูแสวง บุตรน้ําเพชร ครูฝึกสอนและผู้ควบคุมวงดุริยางค์คนแรก) “หาครุฑพระราชทาน” ใส่พาน ขอเข้าพบกับคุณแก้วขวัญ วัชโรทัยและพี่เปียก ณ กองถ่ายทําภาพยนต์ส่วนพระองค์ พระราชวังสวนจิตรลดา ในขณะนั้น เพื่อขอความคิดเห็นว่าจะเป็นการบังควรหรือไม่ที่จะกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตให้ครุฑ นำขบวนวงดุริยางค์ของโรงเรียนวัดสุทธิวรารามอย่างเป็นทางการ ซึ่งคุณแก้วขวัญก็ได้ให้คําแนะนําและให้ ความอนุเคราะห์รับเป็นธุระในการดําเนินการให้ และให้คณะของครูแสวงรอฟังพระบรมราชานุญาต โดยมี กําหนดนัดหมายวัน

เมื่อถึงวันกําหนดนัดหมายครูแสวงกับครูจรูญ ได้เดินทางไปขอเข้าพบคุณแก้วขวัญ ณ พระราชวังสวนจิตรลดา และได้รับทราบข่าวว่า “ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้นําคทาครุฑออกใช้งาน ในลักษณะการนําขบวนกองเกียรติยศเพื่อรับเสด็จได้ตามความประสงค์ที่ได้ขอไว้” ครูแสวงกับครูจรูญ จึงได้รับพานครุฑ จากคุณแก้วขวัญและนําความปลื้มปีติอย่างล้นพ้นกลับมาแจ้งแก่ชาววงดุริยางค์และคณะผู้บริหารโรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้รับทราบ

หลังจากได้จัดสร้างเป็นคทาครุฑพระราชทานแล้ว ในเบื้องต้นครูแสวงได้นําคทาครุฑพระราชทาน เข้าประกอบพิธีประจํากองเกียรติยศลูกเสือโรงเรียนวัดสุทธิวราราม เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2510 ในช่วงเช้า และในช่วงบ่ายก็ได้ชัญเชิญ “คทาครุฑพระราชทาน” นำขบวนกองเกียรติยศรับเสด็จในพิธีสวนสนาม วันลูกเสือแห่งชาติ อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก และในวันนั้นประชาชนที่เฝ้ารับเสด็จอยู่ในสนามศุภชลาศัย ต่างก็ตื่นตาตื่นใจเมื่อได้มีโอกาสเห็น “คทาครุฑพระราชทาน” นําขบวนอย่างสง่างามเป็นครั้งแรก”

ต่อมาในปีเดียวกัน กองเกียรติยศลูกเสือโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ก็ได้เชิญคทาครุฑพระราชทาน นำขบวนวงดุริยางค์ในงาน “เสด็จทอดผ้าพระกฐิน” เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมของปีนั้น ณ วัดเทพศิรินทราวาส จากนั้น คทาครุฑพระราชทานของกองลูกเสือดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ก็มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่อันทรงเกียรติเพื่อ รับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ในโอกาสต่างๆ นับเป็นร้อยครั้ง จนเหมือนจะเป็นที่ทราบกันทั่วไปในวงราชการและ สังคมไทยในขณะนั้นว่าการปฏิบัติหน้าที่รับเสด็จในทุกๆ งานจะเป็นหน้าที่ของกองลูกเสือดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม เพราะเหตุที่ว่า มี “คทาครุฑพระราชทาน” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน มานำขบวนกองเกียรติยศไว้เชิดชูประดับวงอยู่นั้นเอง จึงทําให้สามารถกล่าวอวดอ้างได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า กองลูกเสือดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามเป็นแห่งเดียวของประเทศไทยที่มี “ตราคทาครุฑพระราชทาน ประดับไว้ เป็นเกียรติยศ

นับถึงปี พ.ศ. 2524 “คทาครุฑพระราชทาน” ประดับเป็นเกียรติยศของวงดุริยางค์ โรงเรียน วัดสุทธิวราราม เป็นเวลา 55 ปี