เสาติดตั้งสัญญาณเตือนภัยทางอากาศ (หวออากาศ)
เพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ และเตรียมหลบภัยจากการทิ้งระเบิด เมื่อมีข้าศึกล่วงล้ําเข้ามาในเขตน่านฟ้าไทย ในสงครามมหาเอเชียบูรพา ในปีพุทธศักราช 2485 – 2486 หลังสงคราม ต่อมาทางการได้ปรับเปลี่ยนเป็น หอกระจายเสียงเพื่อแจ้งข่าวสารของทางการ ซึ่งขณะนี้ตั้งอยู่ ณ หน้าประตูโรงเรียน
“คทาครุฑพระราชทาน”
(เรียบเรียงจากคําบอกเล่าของ ครูแสวง บุตรน้ําเพชร ครูฝึกสอนและควบคุมวงดุริยางค์คนแรก)
ครูแสวงเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2510 นักเรียนในวงดุริยางค์คนหนึ่ง ชื่อ เด็กชายทัศนัย จริยวิทยากุล ได้พบ “ตัวครุฑ” ณ ร้านค้าบริเวณบางขุนพรม ด้วยความสนใจเป็นพิเศษ เด็กชายทัศนัย จึงได้ปรึกษากับเด็กชายชา แซ่ผู้ (ปัจจุบันคือ คุณจักรพันธุ์ มุสิกประณีต) ตกลงจะซื้อไว้เพื่อจัดสร้างเป็นคทาครุฑประจําวงดุริยางค์ ต่อมาได้นำตัวครุฑ ให้ครูแสวง พิจารณา ครูแสวงพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นของเก่า และได้ปรึกษากับครูจรูญ เทียมศักดิ์ ซึ่งดํารงตําแหน่งเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ ในขณะนั้นมีความเห็นตรงกันว่า ครุฑ เป็นของสูง หากจะนํามาใช้สมควรจะต้อง ได้รับ พระบรมราชานุญาตพระราชทานลงมา จึงปรึกษากันเพื่อดําเนินการส่งตัวครุฑ ไปที่สํานักพระราชวังเพื่อขอพระบรมราชานุญาตขอใช้ตัวครุฑประดับบนหัวคทาและอัญเชิญคทาครุฑใช้นำแถวกองเกียรติยศวงดุริยางค์ของโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ต่อไป โดยก่อนที่จะนําตัวครุฑส่งไปยังสํานักพระราชวังครูแสวงกับครูจรูญได้นําตัวครุฑ (เรียบเรียงจาก คําบอกเล่าของ ครูแสวง บุตรน้ําเพชร ครูฝึกสอนและผู้ควบคุมวงดุริยางค์คนแรก) “หาครุฑพระราชทาน” ใส่พาน ขอเข้าพบกับคุณแก้วขวัญ วัชโรทัยและพี่เปียก ณ กองถ่ายทําภาพยนต์ส่วนพระองค์ พระราชวังสวนจิตรลดา ในขณะนั้น เพื่อขอความคิดเห็นว่าจะเป็นการบังควรหรือไม่ที่จะกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตให้ครุฑ นำขบวนวงดุริยางค์ของโรงเรียนวัดสุทธิวรารามอย่างเป็นทางการ ซึ่งคุณแก้วขวัญก็ได้ให้คําแนะนําและให้ ความอนุเคราะห์รับเป็นธุระในการดําเนินการให้ และให้คณะของครูแสวงรอฟังพระบรมราชานุญาต โดยมี กําหนดนัดหมายวัน
เมื่อถึงวันกําหนดนัดหมายครูแสวงกับครูจรูญ ได้เดินทางไปขอเข้าพบคุณแก้วขวัญ ณ พระราชวังสวนจิตรลดา และได้รับทราบข่าวว่า “ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้นําคทาครุฑออกใช้งาน ในลักษณะการนําขบวนกองเกียรติยศเพื่อรับเสด็จได้ตามความประสงค์ที่ได้ขอไว้” ครูแสวงกับครูจรูญ จึงได้รับพานครุฑ จากคุณแก้วขวัญและนําความปลื้มปีติอย่างล้นพ้นกลับมาแจ้งแก่ชาววงดุริยางค์และคณะผู้บริหารโรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้รับทราบ
หลังจากได้จัดสร้างเป็นคทาครุฑพระราชทานแล้ว ในเบื้องต้นครูแสวงได้นําคทาครุฑพระราชทาน เข้าประกอบพิธีประจํากองเกียรติยศลูกเสือโรงเรียนวัดสุทธิวราราม เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2510 ในช่วงเช้า และในช่วงบ่ายก็ได้ชัญเชิญ “คทาครุฑพระราชทาน” นำขบวนกองเกียรติยศรับเสด็จในพิธีสวนสนาม วันลูกเสือแห่งชาติ อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก และในวันนั้นประชาชนที่เฝ้ารับเสด็จอยู่ในสนามศุภชลาศัย ต่างก็ตื่นตาตื่นใจเมื่อได้มีโอกาสเห็น “คทาครุฑพระราชทาน” นําขบวนอย่างสง่างามเป็นครั้งแรก”
ต่อมาในปีเดียวกัน กองเกียรติยศลูกเสือโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ก็ได้เชิญคทาครุฑพระราชทาน นำขบวนวงดุริยางค์ในงาน “เสด็จทอดผ้าพระกฐิน” เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมของปีนั้น ณ วัดเทพศิรินทราวาส จากนั้น คทาครุฑพระราชทานของกองลูกเสือดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ก็มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่อันทรงเกียรติเพื่อ รับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ในโอกาสต่างๆ นับเป็นร้อยครั้ง จนเหมือนจะเป็นที่ทราบกันทั่วไปในวงราชการและ สังคมไทยในขณะนั้นว่าการปฏิบัติหน้าที่รับเสด็จในทุกๆ งานจะเป็นหน้าที่ของกองลูกเสือดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม เพราะเหตุที่ว่า มี “คทาครุฑพระราชทาน” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน มานำขบวนกองเกียรติยศไว้เชิดชูประดับวงอยู่นั้นเอง จึงทําให้สามารถกล่าวอวดอ้างได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า กองลูกเสือดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามเป็นแห่งเดียวของประเทศไทยที่มี “ตราคทาครุฑพระราชทาน ประดับไว้ เป็นเกียรติยศ
นับถึงปี พ.ศ. 2524 “คทาครุฑพระราชทาน” ประดับเป็นเกียรติยศของวงดุริยางค์ โรงเรียน วัดสุทธิวราราม เป็นเวลา 55 ปี